เครื่องทดสอบหาค่ากำลังต้านทานของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย (CONCRETE TEST HAMMER)
ยี่ห้อ MATEST รุ่น C-380 ผลิตในประเทศอิตาลี
1. ลักษณะทั่วไป
เป็นเครื่องมือทดสอบค่ากำลังความต้านทานของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย สามารถใช้งานได้
ในห้องปฏิบัติการและในสนามจริง ตามมาตรฐาน ASTM C805
2. รายละเอียดทั่วไป
2.1 ตัวเครื่องลักษณะเป็นกระบอกอลูมิเนียม ภายในประกอบด้วยเหล็กแกนเพลาประกอบยึดติดกับสปริงและเข็มอ่านค่าแรงกระแทกซึ่งสามารถอ่านค่าจากด้านนอกโดยมีสเกลตั้งแต่10 –100 แบ่งละเอียด 2 ช่อง ต่อสเกล ค่าอ่านได้จากสเกลแล้วนำผลเทียบความต้านทานของคอนกรีตจากกราฟที่ติดอยู่ที่ด้านข้างของเครื่องค่ากำลังต้านทานของคอนกรีต (CUBE COMPRESSIVE STRENGTH) สามารถอ่านค่าไม่น้อยกว่า105 – 700 Kg/cm2
2.2 เครื่องมือบรรจุอยู่ในกระเป๋า มีหินขัดผิวตัวอย่างให้เรียบ 1 อัน และคู่มือการใช้งานของเครื่อง 1 เล่ม
2.3 รับประกันคุณภาพการใช้งานตามปกติ 1 ปี
HT-225Q Digital Concrete Test Hammer ( Simply Type)
1. เครื่องทดสอบคอนกรีตรุ่น HT-225Q มาพร้อมจอแสดงผลดิจิตอลและฟังก์ชั่นเสียง
2 คุณลักษณะทั่วไป
ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน (JGJ / T23-2001)เชื่อมต่อกับเครื่องปรินเตอร์แบบพกพา สามารถพิมรายงานได้ทันที
3 ข้อมูลทางเทคนิค
3.1) พลังกระแทกมาตรฐาน: 2.207J
3.2) แรงดึงของสปริง: 785 N / m
3.3) จังหวะของแรงกระทบ: 75 มม
3.4) จอแสดงผล: สี 16 บิต True, ความละเอียด 176 x 220, แบ็คไล้ 5 ระดับ
3.5) เก็บข้อมูลมากกว่า: 200 ข้อมูล
3.6) กำลังไฟ: แบตเตอรี่ลิเทียมขนาด 3.6 V / 1300mAH, เหมาะกับแดปเตอร์ชาร์จ 5V / 2A
3.7) เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์: USB2.0
3.8) มีฟังก์ชั่นนาฬิกาปฏิทินแบบเรียลไทม์
3.9) น้ำหนักสุทธิ: 1.กิโลกรัม
การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตด้วยวิธี Rebound Hammer Test (Schmidt Hammer Test) เป็นการทดสอบ เพื่อประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างแบบไม่ทำลาย Non-Destructive Test) ตามมาตรฐาน ASTM C805 โดยประเมินค่ากำลังอัดประลัย หรือค่า Fc' ของคอนกรีต โดยอาศัยหลักการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกนทดสอบ (Plunger) และกระบอกทดสอบ(Housing)ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่า ดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งมากกว่า จะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า
เครื่องมือที่ใช้คือ Rebound Hammer ซึ่งใช้หลักการกระแทก และกระดอนกลับ (Rebound) ของสปริงหรือมวลยืดหยุ่น กำลังที่กระดอนกลับ (Rebound) จะแปรผันกับค่าความแข็งแรงของผิวที่ทดสอบ
1.ตรวจสอบสภาพผิวตัวอย่างทดสอบ ขัดผิวที่ต้องการทดสอบให้เรียบ ถ้าผิวโค้งนูน หริอ ผิวเว้าจะมีผลต่อการRebound ของ Rebound Hammer เนื่องจากผิวที่โค้งนูนจะทำให้ค่าที่อ่านได้ต่ำกว่าค่าความเป็นจริง ส่วนผิวที่เว้าจะทำให้ค่าที่อ่านได้สูงกว่าค่าความเป็นจริง
2.จัดแบ่งพื้นที่ตัวอย่างทดสอบให้มีตำแหน่งการทดสอบ 10 ตำแหน่ง และแต่ละตำแหน่งห่างกันอย่างน้อย 2.5 cm
3.ทำการกด Rebound Hammer ในทิศทางที่ตั้งฉากกับผิวตัวอย่าง พร้อมบันทึกค่า Rebound Number และทิศทางการกด ซึ่งมีด้วยกัน 3 ทิศทาง ได้แก่ กดในแนวนอน, แนวตั้งแบบยิงขึ้น หรือแนวตั้งแบบยิงลง เนื่องจากแต่ละทิศทางจะใช้กราฟในการปรับค่า Rebound Number เป็นค่า Strength of Concrete ที่แตกต่างกัน
4.นำค่า Rebound Number ทั้งหมด มาหาค่าเฉลี่ย แล้วดูว่าค่าRebound Number ที่ตำแหน่งใดมีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกิน 6 หน่วย ให้ทำการทดสอบตำแหน่งนั้นใหม่ ถ้าทดสอบแล้วยังไม่ได้ ให้ตัดค่าที่ตำแหน่งนั้นทิ้ง แล้วหาค่าเฉลี่ยใหม่ นำค่าเฉลี่ยที่ได้มาหาค่า Strength of Concrete จากกราฟที่ใช้ในการปรับค่า